หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (4 ปี) ผู้เขียน คณะครุศาสตร์ มิถุนายน 21, 2017 ปัจจุบันอาชีพครูถือว่าสำคัญยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง ให้ก้าวทันต่อสถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน แต่ก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้นจะต้องพัฒนาคนซึ่งได้แก่ เยาวชนของชาติเสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ และมีความสมบูรณ์ครบทุกด้าน จึงสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้ และหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่งของครู คือ การปลูกฝังความรู้ ความคิด และจิตใจแก่เยาวชนเพื่อให้เติบโตขึ้นเป็นพลเมืองที่ดีและมีประสิทธิภาพของประเทศชาติในกาลข้างหน้า ผู้เป็นครูจึงจัดได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการสร้างสรรค์อนาคตของชาติบ้านเมืองปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นสิ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา มีความสำคัญด้านการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในด้านการผลิตสื่อดิจิทัล รวมถึงจัดการเรียนรู้ในด้านต่างๆ โดยใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีดิจิทัล แสวงหาความรู้ในวิชาชีพด้วยกระบวนการคิดอย่างมีระบบมีทักษะทางปัญญาในการพัฒนาวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์ สามารถบูรณาการด้านความรู้ทางเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อใช้ในทางการศึกษาได้อย่างเหมาะสมกับสภาพปัญหาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน และสังคม ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ หลักสูตร หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (Bachelor of Education Program in Digital Technology for Education) 1.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต 1.1 กลุ่มวิชาภาษา บังคับเรียน 12 หน่วยกิต 1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บังคับเรียน 9 หน่วยกิต 1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี บังคับเรียน 9 หน่วยกิต 2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 104 หน่วยกิต2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 104 หน่วยกิต 2.1 กลุ่มวิชาชีพครู จำนวนไม่น้อยกว่า 43 หน่วยกิต 2.1.1 วิชาชีพครู 28 หน่วยกิต 2.1.1.1 วิชาชีพครูบังคับ 25 หน่วยกิต 2.1.1.2 วิชาชีพครูเลือก 3 หน่วยกิต 2.1.2 ปฏิบัติการวิชาชีพ 15 หน่วยกิต 2.1.2.1 การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพระหว่างเรียน 3 หน่วยกิต 2.1.2.2 ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 12 หน่วย 2.2 กลุ่มวิชาเอก ไม่น้อยกว่า 61 หน่วยกิต 2.2.1 วิชาเอกบังคับ 41 หน่วยกิต 2.2.2 วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต 3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษาครูสอนวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา วิชาคอมพิวเตอร์ วิชาเทคโนโลยีการศึกษา วิชาโสตทัศนศึกษา วิชาเทคโนโลยี (กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) และวิชาการงานอาชีพในทุกสังกัด บุคลากรสายสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน บุคลากรของหน่วยงานต่างประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน นักวิชาการทางด้านการศึกษา ผู้ออกแบบสื่อการสอนและระบบการเรียนการสอน นักวิจัยและผู้ช่วยวิจัยทางการศึกษา ประกอบอาชีพอิสระ ธุรกิจทางการศึกษา แฟนเพจสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา การรับรองหลักสูตร เอกสารการรับรองหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (4 ปี) เอกสารการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ คลิ๊ก ข่าวสารสาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา กิจกรรม เดิน-วิ่ง เฉลิมพระเกียรติ EDU BUDDY RUN 2024 สิงหาคม 3, 2024 กีฬาสีคณะครุศาสตร์ “EDU GAME 67” คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ประจำปีการศึกษา 2567 กรกฎาคม 29, 2024 พิธีเปิดโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม “ไหว้ครู สาขาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา” กรกฎาคม 25, 2024 การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 กรกฎาคม 11, 2024 โครงการสัมมนานำเสนองานวิจัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา โดยมีนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ชั้นปีที่ 3 มีนาคม 14, 2024 กิจกรรมบริการวิชาการและพัฒนาทักษะทางวิชาชีพครู โดยการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาสีภายในโรงเรียนบ้านนาเสือก ประจำปี 2566 “นาเสือกเกมส์” กันยายน 4, 2023 โครงการสัมมนานำเสนองานวิจัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา มีนาคม 15, 2023 โครงการผลิตและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการอ่าน การเขียน แลพัฒนาทักษะชีวิตในนักเรียน ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ธันวาคม 16, 2022 โครงการพัฒนารูปแบบการอบรมออนไลน์ด้วยกรณีศึกษาอาสาสมัครสาธารณสุข กันยายน 13, 2017 คณะครุศาสตร์ รับสมัคร ค.บ. 5 ปี สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา กันยายน 11, 2017